ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ tech-rasita555.blogspot.com หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศษสตร์ by Rasita :)

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเขียนกระดานดำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า



การเขียนกระดานดำรูปวงกลม


รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า


การเขียนกระดานดำรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว


การทำสนาม (งานกลุ่ม )



การทำสนามกรีฑา 400 เมตร 4ลู่วิ่ง

ขั้นตอนที่1     การคำนวณหาทางวิ่งให้ครบ 400เมตร
         จากการวิ่ง1รอบในช่องวิ่งที่1
ข้อกำหนด  สนามมาตรฐาน มีทางวิ่งทางตรงยาว 84.39 เมตร
                                วิ่ง2ทางตรงได้ระยะทาง  84.39x2    =168.78 เมตร
                                วิ่ง2ทางโค้งได้ระยะทาง  400-168.78 เมตร  =231.22 เมตร
                                231.22เมตร คือเส้นรอบวง
                                หาความยาวของรัศมี มีทางวิ่งโดยใช้สูตร
                                เส้นรอบวง          =2 π r
                                231.22                =2x3.141592654xr
                                231.22                =r
                             2x3.141592654
                                36.80     คือรัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่1
                                36.50     คือรัศมีขอบในของช่องวิ่งที่1 (ขอบในทำด้วนคอนกรีตหรือโลหะ)
                                แต่ละลู่วิ่งมีความกว้าง 1.22 เมตร
วิธีการทำสนาม (การตีเส้น)
ขั้นตอนที่1.ลากเส้นแกนกลางสมมติที่กลางพื้นที่ยาว 84.39 เมตร
                ขั้นตอนที่2.ลากเส้นตั้งฉากสมมติ ผ่านจุดหัวท้ายของเส้นแกนกลางสมมติและตั้งฉากกับเส้นแกนกลางสมมติ
                ขั้นตอนที่3.ใช้รัศมี36.50เมตร ทำเส้นขอบในช่องวิ่งที่1 (ถ้าขอบในทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ)หรือ 36.60เมตร(ถ้าจะทำขอบในด้วยปูนสีขาวหรือสี) แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ขอบในทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ
                ขั้นตอนที่4.ต่อทางวิ่งทางตรง ก็จะได้ขอบในช่องวิ่งที่1
                ขั้นตอนที่5.ทำขอบในช่องวิ่งที่2-4 โดยใช้รัศมีตามตารางและต่อทางวิ่งทางตรง

ตารางรัศมีขอบใน
รัศมีขอบใน
ช่องวิ่งที่1
36.50

ช่องวิ่งที่2
37.72

ช่องวิ่งที่3
38.94

ช่องวิ่งที่4
40.16
รัศมีขอบนอก
ช่องวิ่งที่4
41.38

ขั้นตอนที่6.ต่อทางวิ่งทางตรง สำหรับระยะทาง 100 เมตร 110เมตร และเขตชะลอความเร็วต่อเลยออก
ไปจากเส้นชัยประมาณ







ตัวชี้วัดที่ใช้
สาระที่ ๑  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.   เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง     การดำเนินการต่าง ๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๑
๑. บวก  ลบ  คูณ  หารจำนวนเต็ม  และ
     นำไปใช้แก้ปัญหา ตระหนักถึงความ
     สมเหตุสมผลของคำตอบ อธิบายผลที่
     เกิดขึ้นจากการบวก  การลบ การคูณ 
     การหาร  และบอกความสัมพันธ์ของ
     การบวกกับการลบ  การคูณกับการหาร
     ของจำนวนเต็ม
·     การบวก  การลบ  การคูณ  และการหาร จำนวนเต็ม
·     โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม



สาระที่ ๒  การวัด
มาตรฐาน ค ๒.  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๒
๑.  บอกความยาวเป็นเมตร  และเซนติเมตร
     และเปรียบเทียบความยาวในหน่วย
     เดียวกัน
·     การวัดความยาว (เมตร เซนติเมตร)
·     การเปรียบเทียบความยาว (หน่วยเดียวกัน)
สาระที่ ๒  การวัด    มาตรฐาน ค ๒.   แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๖





.
๑.  แก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่  ความยาว
     รอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลม




๑.ใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาวและพื้นที่แก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้
·          การคาดคะเนพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
·     โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
·     โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปวงกลม
·     การใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาวและพื้นที่ในการแก้ปัญหา
สาระที่ ๓   เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.  ใช้การนึกภาพ (visualization)  ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  
  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๒
๓. เข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในเรื่อง การเลื่อนขนาน  การสะท้อน และการหมุน และนำไปใช้
·         การเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน และการนำไปใช้

สาระที่ ๖  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค  .   มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ   และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
๑. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
๓. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-
ป.๔ – ๖
๑. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
๓. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-

ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.๑– ม.๓


๑. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
๓. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ 
      และนำความรู้  หลักการ  กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ 
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-