ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ tech-rasita555.blogspot.com หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศษสตร์ by Rasita :)

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557



มาตราส่วนและอัตราส่วน
มาตราส่วน
การเขียนแบบ  คือการเขียนที่แสดงรูปร่างของสิ่งต่างๆที่จะสร้างขึ้นตามความต้องการลงบนกระดาษเขียนแบบ โดยการแสดงรูปแบบต่างๆ ให้เห็นว่ามีรูปลักษณะอย่างไร พร้อมทั้งกำหนดขนาดไว้อย่างชัดเจนด้วยว่ามีขนาดกว้าง ยาว และสูงเท่าใด
ในงานเขียนแบบ  สิ่งของที่จะเขียนบางอย่างมีขนาดพอดีกับกระดาษที่จะเขียน แต่บางอย่างก็มีขนาดโตเกินไป  ไม่สาสารถเขียนลงกระดาษได้ เช่น อาคาร บ้านเรือน  ตู้  โต๊ะ   เก้าอี้ เป็นต้น หรือสิ่งของบางอย่างเล็กเกินไปทำให้ลำบากในการเขียนแบบและการอ่านแบบ เช่น น๊อต  สกรู ดังนั้น ในงานเขียนแบบจึงต้องกำหนดขนาดมาตราส่วนขึ้นเพื่อให้สะดวกแก่งานเขียนแบบ  สำหรับในงานเขียนแบบเพื่อจะให้ขนาดของภาพที่เขียนออกมาพอดีกับขนาดกระดาษ  เราจะต้องใช้อัตราส่วนย่อหรือขยาย ตามความเหมาะสม อัตราที่จะใช้ย่อส่วนหรือขยายส่วน ในงานเขียนแบบเรียกว่า มาตราส่วน ( scale )
มาตราส่วนที่ใช้ในงานเขียนแบบมีอยู่ 3ชนิด คือ
1.                  มาตราส่วนเท่าของจริง  คือ การเขียนแบบลงในกระดาษแบบที่มีขนาดเท่ากับของจริง เช่น  ชิ้นงานมีขนาด 10 เซนติเมตร ก็จะเขียนลงในแบบ 10 เซนติเมตร ขนาดเท่าของจริง การเขียนแบบระบุในแบก็จะเขียน คำนี้ 1:1

2.                  มาตราส่วนย่อ คือ การเขียนแบบชิ้นงานหรือวัตถุที่มีขนาดโตย่อลงในกระดาษเขียนแบบ เช่น ชิ้นงาน หรือวัตถุมีขนาด 20 เซนติเมตร ย่อเขียนลงในกระดาษเป็นขนาด 10 เซนติเมตร  โดยใช้มาตราส่วน   1:2 หรือใช้มาตราส่วนขยายอื่นๆที่เหมาะสม เช่น       1:2  ,   1:10  ,  1:100 , 1:1000

      3. มาตราส่วนขยาย คือ การเขียนแบบชิ้นงานหรือวัตถุที่มีขนาดเล็กขยายลงในกระดาษเขียนแบบ เช่น ชิ้นงานหรือวัตถุมีขนาด 10 เวนติเมตร ขยายเขียนลงในกระดาษเป็นขนาด 20 เซนติเมตร โดยใช้มาตราส่วน 2:1 หรือจะใช้มาตราส่วนขยายอื่นๆ ตามความเหมาะสม เช่น 2:1 , 10:1 ,  100:1 , 1000:1

หมายเหตุ             เลขตัวหน้าของมาตราส่วน หมายถึง ขนาดที่ต้องเขียนลงในแบบ
                                เลขตัวหลังของมาตราส่วน หมายถึง ขนาดสัดส่วนแท้จริงของชิ้นงาน
 
 

อัตราส่วน
 
         อัตราส่วน
                   ในชีวิตประจำวัน เราจะพบเห็นข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับปริมาณของสิ่งของในสถานการณ์ต่าง ๆ
          เช่น
               ยาสีฟัน 100 กรัม มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 7.6 มิลลิกรัม
               น้ำนมถั่วเหลืองหนึ่งกล่องปริมาณ 250 cc. มีน้ำตาลผสม 20 cc.
               ไข่ไก่ 10 ฟอง ราคา 25 บาท
               รถยนต์วิ่งด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
              ความสัมพันธ์ที่แสดงถึงการเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนที่มีหน่วยเดียวกันหรือ มีหน่วยต่างกันข้างต้น เรียกว่า “ อัตราส่วน ”  (Ratios)
        อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาตร b เขียนแทนด้วย a : b หรือ
                 เรียก a ว่า จำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน
                เรียก b ว่า จำนวนหลังหรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน
                (อัตราส่วน a : b หรือ อ่านว่า a ต่อ b
 

               ในการเขียนอัตราส่วน ตำแหน่งหรือปริมาณของสิ่งแรกและปริมาณของสิ่งหลังในอัตราส่วนมีความสำคัญ ถ้าเขียนสลับตำแหน่งกัน
อาจทำให้ค่าของอัตราส่วนเปลี่ยนไป
            เช่น ไข่ไก่ 10 ฟอง ราคา 25 บาท เขียนในรูปอัตราส่วนดังนี้
            “ อัตราส่วนของจำนวนไข่ไก่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 10 : 25 ” แต่ถ้าเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 25 : 10 หมายถึง
           ไข่ไก่ 10 ฟอง ราคา 25 บาท ซึ่งมีความหมายเปลี่ยนไป
           การเขียนอัตราส่วน มี 2 แบบ
                     1. ปริมาณสองปริมาณมีหน่วยเหมือนกัน เช่น โต๊ะตัวหนึ่งมีความกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร
                        เขียนเป็นอัตราส่วนได้ว่า
                        ความกว้างต่อความยาวของโต๊ะ เท่ากับ 50 : 120
                    2. ปริมาณสองปริมาณมีหน่วยต่างกัน เช่น นมเปรี้ยว 4 กล่อง ราคา 23 บาท
                        เขียนเป็นอัตราส่วนได้ว่า
                        อัตราส่วนนมเปรี้ยวเป็นกล่องต่อราคาเป็นบาท เป็น 4 : 23

   











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น